รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า Semi ADJ 1.5T 3m (ขยายขาได้)

รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า

รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า รุ่นนี้ เป็นระบบกึ่งไฟฟ้า (ขาขยายได้ รองรับพาเลททุกรูปแบบ) เหมาะกับโรงงานที่มีการยกของขึ้นลง บ่อย ใช้งานตลอด ทางร้าน Multix จะแนะนำรุ่นนี้ ก่อนรุ่น Stacker Manual เนื่องจากว่าผู้ใช้งานจะเหนื่อยกับการเหยียบยกของหนัก และอาจจะทำให้ผู้ใช้งานเกิดอาการล้าจากการยกของได้ แต่ถ้าโรงงานหรือโกดังนั้นไม่ได้ใช้งานยกของบ่อย หรือใช้งานประมาณ 2-3 ครั้งต่อวัน ทางเราจะแนะนำรุ่น Stacker Manual แทนรุ่นกึ่งไฟฟ้า จะคุ้มค่ากว่ามาก

รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า รุ่นนี้จะเป็นรุ่นที่ใช้ไฟฟ้าบังคับการ ยกขึ้น-ยกลง โดยการทำงานนั้นจะใช้ Battery ในการสั่งงานมอเตอร์ เพื่อให้มอเตอร์ไปสั่งงานต่อที่  Pump Hydraulic ยกแผงงาขึ้นลง แต่การเคลื่อนย้ายไปข้างหน้า-ถอยหลัง จะเป็นการใช้แรงงานคนในการเคลื่อนย้าย ต่อไปจะอธิบายการใช้งานและความแตกต่างที่เป็นข้อมูลการช่วยตัดสินใจเลือกซื้อแต่ละรุ่น ว่าเราควรจะใช้รุ่นไหนดีถึงจะเหมาะกับงานของเรา

1. ระบบกึ่งไฟฟ้า Semi Electrical อย่างที่กล่าวไปแล้วกึ่งไฟฟ้า จะเป็นยกขึ้น-ลง ใช้ระบบไฟฟ้าพลังงานจาก แบตเตอรี่ (Battery) ส่วนการเคลื่อนย้ายนั้นจะเป็น Manual คือใช้แรงงานคนในการเคลื่อนย้าย การควบคุมการขึ้นลงของงา จะใช้เป็นปุ่มหรือคันโยกในการบังคับการทำงานหรือ Switch กดขึ้นลง

2. ความสูง รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า ระบบกึ่งไฟฟ้า รุ่นนี้จะสามารถยกได้สูงสุดที่ 3 เมตร ซึ่ง 3 เมตรนี้ เวลาจะเลือกใช้งานต้องดูว่า ชั้นวางสินค้า (Rack) เรานั้นสูงเท่าไร จะสูง 3 เมตรเท่ากันเลย ถ้าความสูงเท่ากันจะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะว่างาจะชนกับชั้นวางสินค้า (Rack)  พอดี และจะไม่สามารถตักพาเลทขึ้นให้ลอยสูงได้ จึงไม่เหมาะกับชั้นที่มีความสูงพอดี 3 เมตร ควรจะต่ำกว่า 3 เมตรถึงจะใช้งานได้เวลาทำการเลือกขนาดความสูงให้ อ้างอิงจาก ชั้นวางสินค้า (Rack)  เป็นหลักก่อน ถ้า ชั้นวางเราสูง 3 เมตร ควรจะเลือกรุ่นที่มีความสูงมากกว่า 3 เมตรขึ้นไป

ความสูงโดยรวมของตัวรถนั้นจะอยู่ที่ 2.07-2.09 เมตร แต่ถ้าเมื่อยกขึ้นจนสุด 3 เมตรแล้ว ความสูงโดยรวมทั้งหมดจะอยู่ที่ 3.53-3.55 เมตร การเลือกรุ่นความสูงจำพวกนี้ ต้องวัดตัวหลังคาหรือโกดังให้ดีด้วยว่า ความสูงโดยรวมทั้งหมดของโกดังเรานั้น มีความสูงเท่าไร มิฉะนั้นจะใช้งานรถยกไฮดรอลินรุ่น Semi 1.5T 3m. ได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ

3. การรับน้ำหนัก  รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า รุ่นนี้จะรับน้ำหนักได้ถึง 1.5 ตัน เลยทีเดียว แต่ 1.5ตันนี้ ไม่ได้หมายถึง ยก 3 เมตรแล้วจะยกได้ถึง 1.5 ตัน (อ้างอิงจากกราฟข้างล่าง) น้ำหนักจะอ้างอิงกับความสูงไปเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง ถ้าต้องการยกของหนัก 1.5 ตัน ความสูงที่ยกได้ก็อาจจะได้ 2-2.5 เมตร โดยประมาณ

hand lift ไฟฟ้า
  • ระบบเสา ก็ออกแบบมาเป็นเสาตัว C (C mast) สองเสา (ถ้าต้องการรุ่น 3 เสาก็สามารถสั่งทำพิเศษได้เหมือนกัน เพื่อลดระดับความสูงลงมา) เสาตัว C จะดีกว่าเสาตัว U ตรงความแข็งแรงกว่า อนาคตไม่คดงอ (ถ้ายกตาม Capacity Chart)

4. ระบบ Battery รุ่นนี้ใช้ Battery ขนาด 12V 1 ลูก ซึ่งแบตที่ให้มากับตัวรถนั้นจะเป็นแบตเตอรี่น้ำ hand lift ไฟฟ้า ซึ่งสามารถเติมน้ำกลั่นดูแลรักษาได้เหมือนกับแบตเตอรี่รถยนต์ปกติได้เลย ความจุของแบตเตอรี่ (battery) สามารถใช้ได้ถึง 3-4 ชม ติดต่อกันเลยทีเดียว ระยะเวลาในการชาร์ตถ้า มิเตอร์โชว์ว่าพลังงานเหลือครึ่งเดียวก็ควรรีบนำรถไปชาร์ตทันที

เพื่อจะได้เป็นการดูแลรักษาแบตเตอรี่ไปในตัวและไม่ต้องรอนานจนเกินไป (ไม่ควรจะปล่อยให้แบตเตอรี่หมดพลังงานบ่อยๆ อาจจะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมได้ อายุการใช้งานจะสั้นลงเป็นอย่างมาก) แบตเตอรี่โดยปกติส่วนมากอายุการใช้งานจะอยู่ที่ 1-2 ปี (ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา)

5.  รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า Semi Hand stacker รุ่น 1.5T 3 เมตร (ขยายขาได้) รุ่นนี้นั้นจะใช้ได้กับพาเลทเกือบทุกรุ่นในประเทศไทย 99% เพราะว่าขากับงาจะถูกแยกออกจากกัน (ตามรูปด้านล่าง) เพื่อให้เหมือนกับ รถโฟคลิฟตัวใหญ่ เลยทำให้รุ่นนี้สามารถยกได้กับทุกพาเลท ไม่ว่าจะเป็น พาเลทไม้ พลาสติก หรือพาเลทจากต่างประเทศ (ถ้าต้องการ รุ่น ไฟฟ้าทั้งตัว ยกขึ้นลงไฟฟ้า เดินหน้าถอยหลังไฟฟ้า เลือกรุ่น FULL Electrical Hand Stacker 1.5T 3 เมตร รายละเอียดเพิ่มเติม )

6. ปุ่ม Safety ปุ่มแดงๆคือปุ่มหยุดการทำงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเกิดปัญหาหรือว่าต้องการดับเครื่อง ให้กดปุ่มนี้เท่านั้น ปุ่ม Safety นั้นจะตัดระบบไฟฟ้าทุกอย่างของรถยกตัวนี้

7. ระบบชาร์จ การชาร์จนั้นจะมีทั้งแบบ Internal และ External

  • Internal หมายถึง ตัวชาร์ต (Charger) จะอยู่ในตัวรถเรียบร้อยแล้ว และก็จะมีสายไฟเป็นปลั๊กต่อออกมาจากตัวรถเพื่อให้สะดวกสบายในการชาร์จมากขึ้น
  • External หมายถึง ตัวชาร์ต (Charger) จะอยู่นอกตัวรถ ซึ่งเวลาจะชาร์จต้องนำตัวชาร์จไปด้วย แต่ข้อดีของรุ่นนี้ก็คือ ดูแลรักษางาน รู้ได้ทันทีว่าระบบตรงไหนมีปัญหา
External
Internal

8. ระบบเบรค รถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้า เป็นระบบเท้าเหยียบ ใช้งานง่ายกว่ารุ่น Manual และซ่อมบำรุงรักษาง่ายดายกว่า

9. แผงงา (Carriage) ความกว้างอยู่ที่ 30-95 สามารถขยายซ้ายขวาได้ ให้เหมาะสมกับพาเลทที่ใช้งาน รอยเชื่อมเต็มรอย งาขึ้นรูปจากเหล็กแผ่น ความยาวของงาอยู่ที่ 1150 mm. เป็นขนาดมาตราฐานที่ใช้ได้กับพาเลททั่วๆไป (ห้ามยกสินค้าโดยการใช้ปลายงางัดโดยเด็ดขาด)

10. Pump Hydraulic และกระบอกไฮดรอลิคปั๊มไฮดรอลิคนั้น จะเป็น Hydraulic Power Unit หรือ มอเตอร์ติดกับถังน้ำมันในตัว(ใช้ภาษาง่ายๆ) แรงดันน้ำมัน 20MPa (Pressure) ขนาด 12v 1.5KW ถังน้ำมันเป็นเหล็กใช้น้ำมันได้ทั้งหมด 6 L (6L Steel) ต่อพ่วงกับแบตเตอรี่ 12V ในการสั่งงานมอเตอร์และปั๊มเพื่อควบคุมแรงดันน้ำมัน​
  • น้ำมันไฮดรอลิค รุ่นนี้จะเป็นเบอร์  68 น้ำมันไฮดรอลิคตัวนี้ ข้อดีคือ ความหนืดได้ค่ามาตราฐาน ระบายความร้อนได้มาตราฐาน ช่วยปกป้องแกนกระบอกไฮดรอลิค เป็นน้ำมันสะอาดแถบจะไม่เป็นตะกอนซึ่งจะเป้นผลเสียกับระบบไฮดรอลิคอย่างมากถ้าน้ำมันเป็นตะกอน แถมสุดท้าย หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก
  • กระบอกไฮดรอลิค แฮนด์ลิฟท์ไฟฟ้า จะเป็นแท่งเหล็กตันยาว คุณสมบัติจะสามารถรับแรงกระแทกได้ดี แกนเสาไฮดรอลิคนั้นจะชุบโครเมียมาเรียบรอย เพื่อไม่ให้เกิดการขีดขวดจนเป็นรอยทำให้ กระบอกรอยได้ในที่สุด ไม่มีรอยเชื่อม ป้องกันการคดง้อในอนาคต สุดท้าย ยกขึ้นลงคงที่ (Stable movement) ลื่นไหลไม่เกิดการติดขัดใดๆ

Scroll to Top