แฮนลิฟไฟฟ้า หรือ hand lift ไฟฟ้า ราคา และคุณสมบัติลักษณะยังไง ?
เมื่อเราพูดถึงตัว แฮนลิฟไฟฟ้า ถ้าไม่พูดถึงรุ่นนี้ไม่ได้เลย นั้นก็คือ รุ่น FULL Stacker electrical 1.5T 3m. ก็จะมีคุณสมบัติเพิ่มเติมจากตัว Semi electrical ขึ้นมาพอสมควรรุ่นนี้ทำไมเราถึงเรียกมันว่าตัว FULL เพราะว่า ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด ยกขึ้นลงไฟฟ้า เดินหน้าถอยหลัง ก็เป็นระบบไฟฟ้าหมด ช่วยในเรื่องของการเคลื่อนย้าย อย่างสะดวก
ถ้าต้องเคลื่อนย้ายสินค้าที่หนักบ่อยๆ ทั้งวัน แรงงานอาจจะเกิดอาการล้าได้ รุ่นนี้ก็จะตอบโจทย์งานเสร็จไว ใช้แรงน้อยผู้หญิงก็สามารถที่จะใช้ได้ รุ่นนี้จะมีมอเตอร์ทั้ง 2 ตัว คอยขับเคลื่อน มอเตอร์ตัวที่ 1 เป็นมอเตอร์อัดแรงดันน้ำมัน อัดน้ำมันไฮดรอลิค ส่วนมอเตอร์ตัวที่ 2 เป็นมอเตอร์ในการขับเคลื่อน เดียวเรามาลองดูกันทุกจุดว่า ใช้งานยังไง ความแตกต่างยังไง แล้วควรจะใช้ดีไหม
1. แฮนลิฟไฟฟ้า FULL ไฟฟ้า ทุกอย่าง
สั่งการด้วยไฟฟ้าทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นยกขึ้นลง เดินหน้าถอยหลัง ใช้ไฟฟ้าในการควบคุมโดยที่ควบคุมจากตัว Handle ระบบทุกอย่างจะอยู่ในตัวจับตัวนี้ ไม่ว่าจะเป็นปุ่มกด ยกขึ้น-ลง เดินหน้า-ถอยหลัง (ถ้ารุ่น Semi จะเป็นแค่การ ยกขึ้น-ลง ไฟฟ้า เท่านั้น)
2. ความสูง รุ่น FULL Stacker electrical 1.5T 3m.
ความสูงที่วัดจากพื้นถึงงา เมื่อยกสูงสุดแล้วจะอยู่ที่ 3 เมตรพอดี ซึ่งหลักการ ในการเลือกความสูงนั้นควรจะยึดหลักของ ชั้นวางสินค้า (Rack) ในโกดังหรือโรงงานเป็นอันดับแรก และความสูงของหลังคาที่ยอมให้รถยกสูงทั้งหมดเท่าไร ยกตัวอย่างเช่น ชั้นวางสินค้า (Rack) มีความสูง 2.5 เมตร ความสูงหลังคาโดยรวมประมาณ 5 เมตร ก็จะสามารถใช้งานรุ่น Stacker electrical 1.5T 3m. ได้อย่างสบาย
เนื่องจากความสูงโดยรวมทั้งหมดของแฮนลิฟไฟฟ้าตอนยกของ 3.532 หลังคาโกดังสูงถึง 5 เมตร อันนี้ผ่าน มาดูกันที่ความสูงของชั้น ชั้นวางสินค้า (Rack) 2.5 เมตร รุ่นนี้ทำได้ 3 เมตรก็ถือว่าผ่าน แต่ถ้าความสูงของ ชั้นวางสินค้า (Rack) สูง 3 เมตร แต่จะใช้รถยกรุ่น 3 เมตร เช่นเดียวกัน แบบนี้ ก็ไม่สามารถที่จะใช้งานได้ เพราะว่า เมื่อยกงาจนสุดจะชนกับ ชั้นวางสินค้า (Rack) พอดี ไม่สามารถจะยกชิ้นงานหรือพาเลทให้ลอยได้
หลักการเลือกความสูงนั้น อยากจะโทรมาสอบถามหรือส่งรูปเข้ามาเพื่อปรึกษากันว่า หน้างานแบบไหน ลักษณะสินค้าแบบนี้ เราจะใช้รุ่นไหนดี เพื่อให้ รถยกรุ่นนั้นๆที่ถูกส่งออกไป ได้ใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพอย่าง และคุ้มค่าเงินทุกบาททุกสตางค์อย่างแท้จริง
3. การรับน้ำหนัก รุ่นนี้จะรับน้ำหนักได้ถึง 1.5 ตัน เลยทีเดียว แต่ถ้าทำการอ้างอิงจาก ตารางด้านล่างด้วย น้ำหนัก ส่วนใหญ่จะแปรผันตามความสูง อย่างรุ่นนี้ ถ้าต้องการยกสินค้าน้ำหนัก 1.5ตัน จริงๆ Max Height ที่สามารถยกได้จะอยู่ที่ 2.5 เมตร เท่านั้น ส่วนการยก 3 เมตรนั้น น้ำหนักจะต้องค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ มิฉะนั้นอาจจะเกิดความเสียหายได้ (อ้างอิงจากตาราง Load Capacity)
ระบบเสา ก็จะเป็น ระบบ 2 เสา เหล็กเป็นตัว C (C mast) ซ้อนกันอยู่ตามรูปภาพ เหล็กตัวนี้ จะมีคุณสมบัติที่ แข็งแรง ไม่คดงอ (ถ้ายกตาม Capacity Chart) ในอนาคต ดูแลรักษาง่าย (แต่ถ้าต้องการปรับระดับเสาให้ลดลงอีก โดยยกความสูงเพิ่มขึ้น ก็สามารถสั่งทำได้พิเศษ ระบบนั้นจะเรียกกันว่า ระบบ 3 เสา ซึ่งก็จะมี เสา C (C mast) ซ้อนกันอยู่ 3 ชั้นเลยทีเดียว)
4. ระบบ Battery รุ่นนี้ใช้ Battery ขนาด 24V จะมีแบตเตอรี่ทั้งหมด 2 ลูก ต่ออนุกรม กันอยู่ แต่ละลูก 12v ซึ่งจะเป็น Battery แห้ง ดูแลรักษาง่ายไม่ต้องยุ่งวุ่นวายกับการเติมน้ำกลั่น ทำไมถึงต้องใช้แบตเตอรี่ 2 ลูก ก็เพราะว่า รุ่นนี้เราใช้ มอเตอร์ (Motor) ขนาด 24 เพื่อกำลังที่แรงขึ้นกินไฟน้อยลง
เพราะว่าต้องใช้มอเตอร์ในการขับเคลื่อยของขนาด 1.5 ตัน เลยทีเดียว รุ่นนี้ก็จะสามารถใช้ติดต่อกันได้ 3-4 ชม. ส่วนการชาร์จนั้นให้เราดูจากตัวมิเตอร์ที่แสดงสถานะว่า อยู่ระดับไหน
ส่วนใหญ่ทางเราจะแนะนำว่าถ้า hand lift ไฟฟ้า มิเตอร์แสดงสถานะนั้นโชว์ว่าเหลืออยู่ครึ่งหนึ่ง ทางเราก็จะแนะนำให้ชาร์จไว้ได้เลย โดยที่ก็จะเป็นการดูแลรักษาแบตเตอรี่ไปในตัวด้วย ห้ามให้แบตเตอรี่หมดเกลี้ยงเป็นประจำ มิฉะนั้นอายุการใช้งานจะสั้นลงอย่างมาก เช่น อายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ชาร์จประจำอยู่ที่ 1-2 ปี ถ้าปล่อยให้หมดบ่อยๆ อาจจะเหลือไม่ถึง 1 ปี ก็เป็นไปได้ (ถ้าภายใน 1 เดือน ไม่ได้ชาร์จเลย อาจจะเหลือแค่ 6 เดือนเท่านั้น)
5. พาเลท ที่ใช้กับร แฮนลิฟไฟฟ้า รุ่น Full Stacker 1.5T 3 m. (ขาขยายไม่ได้) hand lift ไฟฟ้า รุ่นนี้จะลักษณะคล้ายๆกับตัว Semi หรือตัว Manual ที่ไม่สามารถขยายขาได้ จะใช้แค่กับพาเลทที่ไม่มีคานด้านล่างเท่านั้น ดังรูปข้างล่าง ถ้าพาเลทพลาสติกหรือพาเลทไม้ที่มีคานด้านล่าง รถยกรุ่นนี้จะไม่สามารถใช้งานได้เลย
ดังนั้นอยากให้เช็คพาเลทส่วนใหญ่ที่ต้องการใช้ในโรงงานให้ดีก่อน ที่จะทำการสั่งซื้อ แต่ถ้าต้องการใช้ได้กับพาเลททุกรุ่นเลย ต้องเป็นรุ่นที่ <<<สามารถขยายขาได้>>> รุ่นพวกนั้นจะสามารถขยายขาได้ถึง 1.3 เมตร เลยทีเดียวก็จะใช้ความกับพาเลท 1.2 เมตรได้อย่างสบายหมดห่วง
6. ปุ่ม Safety ปุ่มแดงๆคือปุ่มหยุดการทำงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเกิดปัญหาหรือว่าต้องการดับเครื่อง ให้กดปุ่มนี้เท่านั้น ปุ่ม Safety นั้นจะตัดระบบไฟฟ้าทุกอย่างของรถยกตัวนี้
7. ระบบชาร์จ การชาร์จนั้นจะมีทั้งแบบ Internal และ External (ขึ้นอยู่ว่าต้องการแบบไหน) Internal หมายถึง ตัวชาร์ต (Charger) จะอยู่ในตัวรถเรียบร้อยแล้ว และก็จะมีสายไฟเป็นปลั๊กต่อออกมาจากตัวรถเพื่อให้สะดวกสบายในการชาร์จมากขึ้น
External หมายถึง ตัวชาร์ต (Charger) จะอยู่นอกตัวรถ ซึ่งเวลาจะชาร์จต้องนำตัวชาร์จไปด้วย แต่ข้อดีของรุ่นนี้ก็คือ ดูแลรักษางาน รู้ได้ทันทีว่าระบบตรงไหนมีปัญหา
8. ระบบเบรค แฮนลิฟไฟฟ้า รุ่นนี้จะเป็นระบบเบครอัตโนมัติ หมายถึงระบบเบรคที่หยุดด้วยมอเตอร์เท่านั้น ไม่มีการเหยียบหรือกดให้ล้อล็อค ก็จะปลอดภัยไร้กังวลมากกว่ารุ่น Manual ถ้าไม่มีไฟไปเลี้ยงหรือไม่กดเดินหน้าถอยหลัง รถจะไม่สามารถขยับได้เลย
ยกตัวอย่างการใช้งาน สมมุตติว่า เราทำการยกสินค้าชนิดหนึ่ง พร้อมจะเคลื่อนย้าย กดสวิตซ์เดินไปข้างหน้า พอถึงจุดที่เราต้องการ เราปล่อยสวิตซ์ ตรงนี้เองรถกก็จะหยุดอัตโนมัติและจะไม่ขยับจนกว่าเราจะกดเดินหน้าหรือถอยหลังอีกที (เป็นการล็อคล้อไปในตัว)
9. แผงงา (Carriage) ความกว้างอยู่ที่ 30-100 สามารถขยายซ้ายขวาได้ ให้เหมาะสมกับพาเลทที่ใช้งาน รอบเชื่อมเต็มรอย งาขึ้นรูปจากเหล็กแผ่น ความยาวของงาอยู่ที่ 1150 mm. เป็นขนาดมาตราฐานที่ใช้ได้กับพาเลททั่วๆไป (ห้ามยกสินค้าโดยการงัดเด็ดขาด)
10. Pump Hydraulic และกระบอกไฮดรอลิคปั๊มไฮดรอลิคนั้น hand lift ไฟฟ้า จะเป็น Hydraulic Power Unit หรือ มอเตอร์ติดกับถังน้ำมันในตัว(ใช้ภาษาง่ายๆ)
น้ำมันไฮดรอลิค รุ่นนี้จะเป็นเบอร์ 68 น้ำมันไฮดรอลิคตัวนี้ ข้อดีคือ ความหนืดได้ค่ามาตราฐาน ระบายความร้อนได้มาตราฐาน ช่วยปกป้องแกนกระบอกไฮดรอลิค เป็นน้ำมันสะอาดแถบจะไม่เป็นตะกอนซึ่งจะเป้นผลเสียกับระบบไฮดรอลิคอย่างมากถ้าน้ำมันเป็นตะกอน แถมสุดท้าย หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก